Emergence from Poverty – Edited by Pr Narumol Nirathron

“Emergence from Poverty”: Mode of Action and Empirical Evidence ”: A new book in the Thai language edited by Pr Narumol Nirathron. Released at the end of 2015 and intended as a source of inspiration for all of those in Thailand in search of wider mutual respect and understanding as they work alongside people experiencing poverty.

“กัาวพันจากความยากไร้ : แนวทางการทำงานและประสบการณ์เชิงประจักษ์” รองศาสตราจารย์ ดร. นฤมล นิราทร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : ผู้แปลและบรรณาธิการ
นำเสนอปรัชญาและหลักการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศและกรณีศึกษาที่สะท้อนการทำงานที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และกระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกันและการเสริมพลัง

Pr. Narumol Nirathron, Ph.D., Thammasat University, Bangkok is active member of ATD Thailand and a former president of Friends of ATD Foundation in Thailand. She is the coordinator and editor of this work, which introduces us to the findings of social scientist Professor Jona M. Rosenfeld, Ph.D., from Meyers-Brookdale Institute of Research (Israël). Pr. Rosenfeld has devoted his career to research and teaching into an understanding of the poor. Meeting ATD Fourth World founder Joseph Wresinki forty years ago utterly convinced him that ‘Families living in extreme poverty and exclusion have a contribution to bring.’ One of the outcomes of this collaboration is a method for practitioners and professionals of social work to learn from their experiences -whether successful or not- and to gain knowledge that can be put into action. This is the first part of the book. (For more information, read Emergence from extreme poverty, Science & Service Fourth World Publications, 1989)

For the case studies from Thailand presented in the second part, families in two communities in Bangkok, Thai members and permanent volunteers of ATD Fourth World have put their voices together to share their understanding of what it means to experience extreme poverty in Thailand.

Read “Emergence from Poverty”: Mode of Action and Empirical Evidence ” online.

หนังสือเล่มนี้ เป็นงานรวบรวมแนวทางการทำงานขององค์การนานาชาติ เอ.ที.ดี. โลกที่สี่ และประสบการณ์ของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. ในการทำงานกับผู้ยากไร้ในชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นงานแปลที่อธิบายปรัชญาและแนวทางการปฏิบัติการของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. โลกที่สี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่อง Emergence from Extreme Poverty เขียนโดย โจนา โรเซนเฟลด์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็ม เนื้อหาในตอนนี้แบ่งเป็น 3 บท บทแรกให้ความสำคัญกับปรัชญาพื้นฐานการทำงานขององค์การ บทที่ 2 นำเสนอตัวชี้วัดความสำเร็จที่แสดงถึงก้าวพ้นจากความยากไร้ ตัวชี้วัดเหล่านี้แม้จะมีความเฉพาะเจาะจงเนื่องจากเชื่อมโยงโดยตรงกับการทำงานของอาสาสมัครตามปรัชญาพื้นฐานของผู้ก่อตั้ง ที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ยากไร้และสังคม และการเสริมพลังความเข้มแข็งจากภายใน แต่ความเข้าใจในตัวชี้วัดจะชัดเจนมากขึ้นเมื่อนำไปเชื่อมโยงกับแนวทางการปฏิบัติงานของอาสาสมัครในบทที่ 3 ตอนที่ 2 ของหนังสือ นำเสนอประสบการณ์ทำงานของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. จากกรณีศึกษา 4 เรื่อง โดยเริ่มจากบทที่ 4 ซึ่งนำเสนอการทำงานของอาสาสมัครเอ.ที.ดี.ในประเทศไทย

กรณีศึกษา 2 เรื่องในบทที่ 5 และ 6 มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของผู้หญิง 2 คนในชุมชนซึ่งอาสาสมัคร เอ.ที.ดี. ได้มีโอกาสทำความรู้จักเป็นเวลามากกว่า 2 ทศวรรษ ชีวิตของผู้หญิง 2 คนนี้เป็นทั้งภาพสะท้อนชีวิตของผู้ยากไร้ วิถีชีวิตในชุมชนแออัดในกรุงเทพฯและแนวทางการทำงานของอาสาสมัคร

กรณีศึกษาเรื่องที่ 3 ในบทที่ 7 นำเสนอกระบวนการทำงานของอาสาสมัคร เอ.ที.ดี.ร่วมกับชาวบ้านเพื่อสร้างศูนย์ชุมชน ในกระบวนการนี้อาสาสมัครสนับสนุนให้ชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กรณีศึกษาเรื่องนี้ยังสะท้อนบทบาทของหน่วยต่างๆ ในสังคมในการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้ชาวชุมชนสามารถสร้าง “ศูนย์ชุมชน” ที่นอกจากจะมีความสำคัญในฐานะ “ผลงาน” ในเชิงกายภาพและการใช้ประโยชน์แล้ว ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการทำงานที่สะท้อนปรัชญาและแนวทางการทำงานของอาสาสมัครที่พยายามเสริมพลังชาวชุมชน ให้ได้มีโอกาสแสดงตัวตน สร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้ชัดเจน

ส่วนกรณีเรื่องสุดท้ายในบทที่ 8 นำเสนอกระบวนการทำงานของอาสาสมัครในการสนับสนุนให้ผู้ยากไร้เข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม

กรณีศึกษาเหล่านี้เปรียบเสมือนเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกทั้งเรื่องราวชีวิตของผู้ยากไร้ กระบวนการทำงานของอาสาสมัครในขณะเดียวกันก็สะท้อนปรัชญาและหลักการทำงานขององค์การนานาชาติ เอ.ที.ดี. โลกที่สี่ ซึ่งในหลายส่วนสอดคล้องกับหลักการสังคมสงเคราะห์ที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และกระบวนการทำงานที่นำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ร่วมกันและการเสริมพลัง รวมทั้งเสนอเครื่องชี้วัดความสำเร็จบางส่วน แม้เครื่องชี้วัดความสำเร็จจะไม่ได้ปรากฏในกรณีศึกษาอย่างครบถ้วนแต่ก็สามารถเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการปฏิบัติงานโดยตรงกับผู้ยากไร้ได้

การบันทึกเรื่องราวย้อนอดีตเหล่านี้เป็นผลงานของผู้คนจำนวนไม่น้อยในช่วงเวลากว่า 20 ปี ประกอบด้วยครอบครัวโลกที่สี่ อาสาสมัคร เอ.ที.ดี. โลกที่สี่, เพื่อน เอ.ที.ดี.ชาวไทย จากหลายสาขาอาชีพ รวมทั้งกรรมการ มูลนิธิ เอ.ที.ดี.เพื่อนผู้ยากไร้ ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการบันทึกประวัติชีวิตและเผยแพร่ปรัชญาและแนวทางการทำงานในการขจัดความยากไร้ การรวบรวมประวัติชีวิตของผู้ยากไร้นอกจากจะเป็นไปเพื่อการสนับสนุนให้ผู้ยากไร้ทำความเข้าใจกับ “อดีต” เพื่อเข้าใจ “ปัจจุบัน” และสร้าง “อนาคต” แล้ว ยังเพื่อ “บันทึก” และเผยแพร่พัฒนาการของชีวิตและชุมชน กระบวนการทำงานที่สะท้อนปรัชญาการทำงานของบาทหลวงวเรซินสกี้ ในการขจัดความยากไร้ให้หมดไปจากสังคม